น้ำท่วมปอด Pulmonary Edema หรือปอดบวมน้ำเป็นภาวะที่เกิดจากของเหลวในปอดมากผิดปกติทำให้ผู้ป่วยมีอาการหายใจลำบากติดขัดหายใจไม่อิ่มเพราะขาดออกซิเจน ร่างกายมีอาการบวมน้ำแขนขาและท้องบวม โรคปอดบวมมักมีสาเหตุมาจากหัวใจผิดปกติของปอดมีการติดเชื้อหรือผู้ป่วยไปสัมผัสสารพิษต่างๆ เข้าไปทำให้เกิดอาการน้ำท่วมปอด ในผู้ป่วยที่เป็นโรคปอดบวมเฉียบพลันหากไม่ได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วนอาจจะเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้

น้ำท่วมปอด เกิดจากอะไร

โดยส่วนมากแล้วผู้ป่วยที่เป็นโรคน้ำท่วมปอดมักมีสาเหตุมาจากภาวะหัวใจล้มเหลวหรือเกิดจากหัวใจห้องซ้ายข้างล่างไม่สามารถที่จะทำการสูบฉีดเลือดจากปอดไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกายได้ตามปกติ ซึ่งภาวะดังกล่าวนี้เองเป็นสาเหตุทำให้เกิดแรงดันเพิ่มมากขึ้นและย้อนกลับไปยังที่ปอดทำให้ปอดมีอาการบวมน้ำเกิดขึ้น และนอกจากนี้ภาวะหลอดเลือดแดงที่ตีบกล้ามเนื้อหัวใจเสื่อมลิ้นหัวใจทำงานผิดปกติและความดันโลหิตสูงก็เป็นสาเหตุทำให้หัวใจห้องซ้ายข้างล่างทำงานได้ผิดปกติส่วนสาเหตุอื่นๆ ที่ทำให้เกิดอาการน้ำท่วมปอดมีดังนี้

  • การสูตรควันประกอบกับสารเคมีบางชนิด
  • สัมผัสกับสารพิษอื่นๆ หรือแอมโมเนีย คลอรีน
  • สมองหรือประสาทบาดเจ็บหรือมีบาดแผล
  • ปอดได้รับการกระทบกระเทือนหลังจากการรักษาอาการลิ่มเลือดออกไป
  • การได้รับเชื้อไวรัส
  • การจมน้ำ
  • ผลข้างเคียงจากการใช้ยาบางชนิด
  • การอยู่ในที่สูงที่มีความสูงประมาณ 8,000 ฟุตขึ้นไป
  • ภาวะหัวใจขาดเลือด และความดันโลหิตเฉียบพลัน
  • ปอดบวม
  • ตับเกิดการอักเสบ
  • ไตวาย
  • ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดอย่างรุนแรงหรือหลอดเลือดเป็นพิษจากการติดเชื้อ

อาการน้ำท่วมปอด

โรคน้ำท่วมปอดนั้นมักเกิดขึ้นได้มาจากหลายสาเหตุ เพราะถ้าได้รับการรักษาทันก็จะไม่เป็นอันตรายถึงชีวิตแต่ถ้าไม่ได้รับการรักษาทันท่วงทีอาจจะมีผลถึงชีวิตเลยก็ได้และนี่คืออาการของโรคน้ำท่วมปอด

  • ผู้ป่วยที่มีอาการน้ำท่วมปอดเรื้อรังจะมีอาการหายใจติดขัดหายใจไม่อิ่มในขณะที่ทำกิจกรรมต่างๆ
  • เวลาหายใจจะมีเสียงดังครืดคราดคล้ายๆ เสียงนกหวีด
  • เมื่อนอนราบจะหายใจลำบากหรือเมื่อต้องออกแรงจะมีอาการหายใจลำบาก
  • ขณะที่นอนจะมีอาการหายใจลำบากแต่เมื่อลุกขึ้นมานั่งจะทำให้หายใจสะดวกขึ้น
  • น้ำหนักขึ้นอย่างรวดเร็วอันเนื่องมาจากภาวะหัวใจวาย
  • ร่างกายอ่อนเพลียและมีอาการบวมน้ำที่แขนขาและท้อง

วิธีการรักษา

การรักษาโรคน้ำท่วมปอดนั้นจะขึ้นอยู่กับสาเหตุและอาการของผู้ป่วย รักษาอาการเบื้องต้นโดยการให้ยาขับปัสสาวะเพื่อลดระดับน้ำในปอด และการรักษาไปตามอาการเช่นในผู้ป่วยที่มีปัญหาในเรื่องของการหายใจและมีระดับออกซีเจนในร่างกายต่ำแพทย์อาจจะทำการรักษาโดยให้ออกซิเจนโดยการใส่หน้ากากหรือสอดสายท่อออกซิเจนเข้าทางรูจมูกและเฝ้าดูอาการอย่างใกล้ชิดและถ้าหากมีภาวะอื่นๆ  แทรกซ้อนก็จะรักษาตามภาวะที่แทรกซ้อนและรักษาอาการน้ำท่วมปอดไปด้วย โดยการรักษาจะมีการใช้ยาร่วมด้วยเช่นยาในกลุ่มช่วยลดแรงดัน ยาขยายหลอดเลือดและยามอร์ฟีนเพื่อบรรเทาอาการหายใจไม่อิ่มควบคู่ไปกับการดูแลร่างกายคนป่วย

ภาวะแทรกซ้อนของโรคที่ต้องระวัง

ภาวะแทรกซ้อนโรคน้ำท่วมปอดจะมีความรุนแรงหรือไม่ขึ้นกับอาการของผู้ป่วยซึ่งส่วนใหญ่แล้วถ้าผู้ป่วยมีอาการไม่รุนแรงมากก็สามารถรักษาและฟื้นฟูร่างกายให้หายเป็นปกติได้แต่ถ้าผู้ป่วยมีอาการรุนแรงจะส่งผลให้เกิดความดันในหลอดเลือดปอดสูงและทำให้หัวใจห้องล่างอ่อนแอลงและล้มเหลวในที่สุด เนื่องจากว่าผนังของหัวใจขวาจะมีความบอบบางกว่าห้องซ้ายและอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ตามมาได้อย่างเช่น มีน้ำในเยื่อหุ้มปอด ตับคั่งบวม แขนขาและท้องบวมขึ้น แต่ทั้งนี้ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงและได้รับการรักษาช้าเกินไปก็อาจจะอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ แต่ในผู้ป่วยบางรายที่น้ำท่วมปอดแบบเฉียบพลันถึงได้รับการรักษาทันก็อาจถึงแก่ชีวิตได้เช่นกัน

โรคน้ำท่วมปอดสามารถเกิดขึ้นได้ไม่เฉพาะกับผู้สูงอายุเท่านั้นแต่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย ภาวะหัวใจล้มเหลวและการสัมผัสสารพิษสารเคมีเป็นสาเหตุหลักในการเกิดโรคดังกล่าวรู้อย่างนี้แล้วควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคดังกล่าว